วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผู้จัดทำ



จัดทำโดย


เด็กชายธีรพัฒน์        ราชอุไร   เลขที่  7

เด็กชายวรัญญู        เศวตรศิลป์    เลขที่   12

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4



ขอบคุณที่มาจาก

 

เขื่อนรัชชประภา







               เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน[1] เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”

1114676496.jpg (555×339)




                   เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยพื้นทีส่นใหญ่ติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด เป็น เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


ประโยชน์


การท่องเที่ยว ทัศนียภาพโดยรอบบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สวยสดงดงาม และสงบร่มรื่น เหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน ให้เดินทางมาเยี่ยมชมเขื่อนรัชชประภา พื้นที่อ่างเก็บน้ำมีทัศนียภาพอันงดงาม ประกอบด้วยยอดเขาหินปูนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมามากมาย จนได้รับฉายาว่า "กุ้ยหลินเมืองไทย" ซึ่งพื้นที่น้ำเกือบทั้งหมด อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก








การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ ทุกๆ ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งเป็นจำนวนมากลงไปในอ่างเก็บน้ำ สามารถให้ผลผลิตทางด้านการประมงเฉลี่ยปีละ 300 ตัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง









วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อุทยานแห่งชาติเขาสก





อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอพนมและอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสภาพพื้นที่เป็รรมชาติอันกว้างใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน พื้นที่ราบมีน้อย พื้นที่ส่วนหนึ่งด้านทิศเหนือบริเวณคลองพระแสงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) ประกอบไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด อุทยานแห่งชาติเขาสกมีเนื้อที่ประมาณ 738.74 ตารางกิโลเมตร หรือ 461,712.5 ไร่ ได้มีการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523
ลักษณะภูมิประเทศ
        อุทยานแห่งชาติเขาสกอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 08 องศา 50 ลิบดา 43 พิลิบดา – 09 องศา 17 ลิบดา 24 พิลิบดา เหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 30 ลิบดา 44 พิลิบดา – 98 องศา 90 ลิบดา 13 พิลิบดา ตะวันออก มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าคลองแสง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ทิศใต้จดนิคมสหกรณ์พนม ทิศตะวันออกจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขื่อนรัชชประภา และทิศตะวันตกจดอุทยานแห่งชาติศรีพังงา

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาดินและภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะช่องแคบเขากาเลาะมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนที่มียอดแหลมระเกะระกะ มีแนวหน้าผาสูงชันบางแห่งเป็นแท่งสูงขึ้นไปในอากาศคล้ายหอคอยสูง ที่ราบมีไม่มาก มีสภาพป่าเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์มากเป็นป่าต้นน้ำลำธารของคลองศกและคลองพะแสง ไหลมาบรรจบรวมกันเป็นต้นกำเนิดของคลองพุมดวง ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญของแม่น้ำตาปี จุดสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 961 เมตร โดยเฉลี่ยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร และลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทรายมีสีแดง บางแห่งเป็นดินลูกรังแต่มีส่วนน้อย

พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติด้านทิศเหนือเกือบทั้งหมด เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา ซึ่งสร้างปิดกั้นคลองพะแสง มีขนาดใหญ่ประมาณ 168 ตารางกิโลเมตร ก่อให้เกิดเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 162 เกาะ พื้นที่ประมาณ 14.06 ตารางกิโลเมตร เกาะเล็กเกาะน้อยนี้ก็คือ ส่วนที่โผล่พ้นน้ำของเขาหินปูนนั่นเอง ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามยิ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
       บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฝั่ง คือทั้งด้านมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน จนถึงปลายเดือนธันวาคมของทุกปี และจะตกชุกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน ช่วงที่เหมาะในการเข้าไปชมอุทยานแห่งชาติเขาสกจะอยู่ในระหว่างเดือนธันวาคม - เมษายน ของทุกปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,636 มิลลิเมตร ฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน อากาศร้อน และอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย มีฝนตกบ้างไม่มากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด คือเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดคือ เดือนมกราคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
          สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาสกเป็น
ป่าดงดิบชื้น ซึ่งพบเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ส่วนมากกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ลักษณะสภาพทั่วไปรกทึบ มีเรือนยอดต่อเนื่องจากชั้นบนสุดลงมาถึงพื้นดิน พันธุ์ไม้ที่พบสำคัญได้แก่ ยางเสียน นาคบุตร ตะเคียนทอง จิกเขา ไข่เขียว ตาเสือ ตังหนใบใหญ่ สะตอ คอแห้ง เสียดช่อ เต้าหลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ปาล์มช้างไห้ หวายขริง หวายเดา เร่ว และปุด เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นสันเขาและหน้าผาหินปูนจะพบสังคมพืชของ

       ป่าเขาหินปูน พืชพรรณที่สามารถขึ้นอยู่ได้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่ทนแล้ง รวมไปถึงพืชล้มลุกที่มีระบบรากยึดเกาะตามหน้าผาได้ดี พืชที่พบได้แก่ จันทน์ผา กำลังหนุมาน เตยเขา มะนาวผี ตะเคียนหิน มลายเขา พลับพลา สลัดไดป่า เป็นต้น จากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาสก จึงเป็นแหล่งรวมพืชหายากและพืชเฉพาะถิ่น เช่น บัวผุด หมากพระราหู ปาล์มเจ้าเมืองถลาง รองเท้านารีเหลืองกร เอื้องฝาหอย มหาสดำ สังวาลย์โนรี เป็นต้น บางส่วนของพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองศกเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่ารอยต่อของการกระจายพันธุ์พืช เช่น แดง ยวนแหล และตะเคียนชันตาแมว




         บัวผุด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rafflesia kerrii Meijer ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นกาฝากชนิดหนึ่งที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่มชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม


       อุทยานแห่งชาติเขาสกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 415 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์ป่าสงวน เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้งหม้อ และแมวลายหินอ่อน นอกจากนี้มีสัตว์อื่นๆ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ หมีขอ ค่างดำ ชะนีธรรมดา ไก่ป่า นกคุ่มอกลาย นกเขาหลวง นกอีวาบตั๊กแตน นกบั้งรอกใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกกะเต็นอกขาว นกโพระดกสวน นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นบ้าน นกปรอดทอง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกจับแมลงหัวเทา นกกระติ๊ดตะโพกขาว ตะพาบน้ำ จิ้งจกหางเรียบ กิ้งก่าบินปีกส้ม จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูลายสอธรรมดา งูสิงธรรมดา งูปล้องทอง งูเขียวดอกหมาก เขียดบัว กบนา อึ่งลายแต้ม ฯลฯ

ในบริเวนอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภา และแหล่งน้ำต่างในอุทยานแห่งชาติเขาสก อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดมากมายหลายชนิด เช่น ปลาแปป ปลาแกง ปลาหนามหลัง ปลาใบไม้ ปลาสร้อย ปลาเล็บมือนาง ปลาปากใต้ ปลารากกล้วย ปลาหมูจุด ปลาแขยงหิน ปลากระทุงเหวเมือง ปลาบู่หมาจู ปลาปักเป้า และปลามังกร เป็นต้น

เขาสก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523 มีชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่ 645.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 403,450 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนสลับซับซ้อน มีแนวหน้าผามากมายซึ่งเป็นลักษณะเด่นของภูเขาทางแถบนี้ซึ่งคล้ายกับเทือกเขาที่จังหวัดกระบี่  อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่กว้างขวางมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ เขื่อนรัชชประภา ถ้ำน้ำทะลุ ถ้ำปะการัง ถ้ำใหญ่ น้ำตกแม่ยาย น้ำตกโตนกลอย ตั้งน้ำ และอีกหลายน้ำตก กรุณาคลิกอ่านรายละเอียดใน จุดที่น่าสนใจ ลิ้งด้านล่าง

เขื่อนรัชชประภา หรือที่เรียกกันติดปากว่า กุ้ยหลินเมืองไทย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของอุทยานแห่งชาติเขาสก ทัศนียภาพโดยทั่วไปภายในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภา มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก  นักท่องเที่ยวทุกคณะที่ไปเห็นล้วนประทับใจ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนที่สูงชันล้อมรอบไปด้วยผืนน้ำที่กว้างใหญ่  ด้วยความลึกของระดับน้ำ กรอปกับสีของตะไคร้น้ำที่อยู่เบื้องล่างทำให้น้ำในเขื่อนมีสีเข้มเหมือนสีมรกต จนนักท่องเที่ยวหลายท่านคิดว่าเป็นน้ำทะเล  ลักษณะภูมิประเทศไปคล้ายกับภูมิประเทศที่เมืองกุ้ยหลินประเทศจีน จึงได้ฉายาว่า กุ้ยหลินเมืองไทย นอกจากเขื่อนรัชชประภาจะมีทัศนียภาพที่สวยงามแล้ว พื้นที่รายรอบเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีก เช่น ถ้ำน้ำทะลุ เป็นถ้ำที่มีลำธารไหลผ่านและต้องเดินป่าเข้าไปชม เส้นทางเดินบรรยากาศร่มรื่นระยะทางเดินไม่ไกล เส้นทางไม่ลำบากมาก ถ้ำปะการังก็น่าสนใจและเข้าถึงได้สะดวกไม่ต้องเดินไกลเหมือนถ้ำน้ำทะลุ จุดชมวิวเป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ อยู่บนเขาสูงซึ่งจะต้องเดินป่าไต่ความสูงขึ้นไป จากจุดชมวิว เมื่อมองลงมาจะเห็นเกาะแก่งน้อยใหญ่ที่รายรอบอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ

สถานที่ตั้ง
            อุทยานแห่งชาติเขาสก  อยู่ในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี อาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณเทือกเขาสูง ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจนถึงอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401  อุทยานแห่งชาติเขาสกแบ่งเป็น 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ  เขื่อนเชี่ยวหลาน หรือ เขื่อนรัชชประภา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ กม 57-58 ตามเส้นทางหลวงสาย 401  ห่างออกไปอีก 51 กม.คือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งตั้งอยู่ที่ กม. 109 บนถนนเส้นเดียวกัน  แต่เดิมนั้นอุทยานแห่งชาติเขาสกมีเฉพาะพื้นที่ที่เป็นป่าเขา อยู่มาภายหลังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้สร้างเขื่อนเชี่ยวหลายขึ้นมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจึงทำให้พื้นที่ป่าบางส่วนกลายเป็นเขื่อนเก็บน้ำ และยังอยู่ในการดูแลพื้นที่โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก

แหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาสกแบ่งลักษณะการท่องเที่ยวตามลักษณะพื้นที่ได้ 2 ประเภท คือการท่องเที่ยวทางบก หรือการเดินป่า และ การท่องเที่ยวทางน้ำ หรือการล่องเรือชมวิวเหนือเขื่อน นอนแพ พื้นที่การท่องเที่ยวทั้งสองแบบนี้อยู่ห่างกันประมาณ 51 กิโลเมตร ตามถนนหลวง หรือ 65 กิโลเมตรจากเขื่อน

การท่องเที่ยวทางบก หรือ การเดินป่า กิจกรรมหลักอยู่บริเวณพื้นที่รอบๆ ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติเขาสก หรือที่ กม 109 แหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ได้แก่ น้ำตกต่างๆ ที่เกิดจากลำน้ำในคลองศกที่ไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ เกิดเป็นน้ำตกหลายแห่งให้นักท่องเที่ยวได้ไปเที่ยวชมด้วยการเดินเท้าเข้าไป หรือที่เรียกกันว่า เดินป่าเขาสก  นอกจากเดินป่าเขาสกเพื่อชมน้ำตกแล้ว จุดไฮไลท์ของที่นี่คือ  ดอกบัวผุด ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในโลก มีกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ สำหรับที่เขาสกนี้พบว่ามีดอกบัวผุดอยู่หลายจุดและมีดอกผลัดเปลี่ยนกันบานไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นฤดูจนถึงปลายฤดู เนื่องจากหาชมได้กว่ากว่าพื้นที่อื่นๆ จึงทำให้เขาสกมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของกิจกรรมท่องเที่ยวเดินป่าชมบัวผุดจนมีนักท่องเที่ยวไปชมกันมากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ




ช่วงเวลาที่เหมาะ สำหรับการเที่ยวเขื่อนรัชชประภา กรณีลงเขื่อน นอนแพ   ( ยกเว้นกิจกรรมเดินป่า ชมน้ำตก ชมดอกบัวผุด )

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
  มาก                                      น้อย